วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยาล้างห้องน้ำ

น้ำยาล้างห้องน้ำคิดว่าทุกบ้านคงต้องมีไว้ใช้ เคยคิดมั๊ยครับว่าปีหนึ่งๆ ต้องใช้เงินซื้อน้ำยาล้างห้องน้ำเท่าไหร่
แล้วมีความสุขกับการใช้น้ำยาล้างน้ำหรือเปล่า ไหนจะกลิ่น ไหนจะการกัดกร่อน คงไม่ต้องอธิบายมากนะครับใครที่ใช้อยู่ก็คงรู้ดี
จริงๆ แล้วแค่ในครัวเรือนเราก็สามารถทำน้ำยางล้างห้องน้ำไว้ใช้เองได้ ผมเองไม่ได้ซื้อน้ำยาล้างห้องน้ำมาใช้เป็นเวลาปีกว่าแล้ว
ตอนแรกผมใช้น้ำหมักไล่แมลงที่หมักจากสารเร่ง พด. 7 ของกรมพัฒนาที่ดินก็ใช้ได้ดี ต่อมาได้มะกรูดมาจำนวนหนึ่งเอามาหมักทำน้ำยาล้างห้องน้ำก็ใช้ได้ดียิ่งกว่า
สิ่งที่ต้องเตรียม
  1. นำผลไม้รสเปรี้ยว มะกรูด หรือ มะนาว หรือมะเฟือง หรือสับปะรด หรือหลายอย่างรวมกัน 3 กิโลกรัม
  2. น้ำตาลแดง 1 กิโลกรัม
  3. น้ำ 10 ลิตร

น้ำยาล้างจาน

วิธีทำน้ำยาล้างจาน
อุปกรณ์และวิธีการทำน้ำยาล้างจาน
1.N70หรือหัวเชื้อ   1 กิโลกรัม
2.F24หรือสารขจัดไขมัน  ครึ่งกิโลกรัม ถ้าไม่มีไม่ต้องก็ได้ครับ
3.เกลือ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ถึง1กิโลกรัม หรือ บางที่เรียกว่าผงข้น
4.น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (ที่โรงเรียนทำใช้มะกรูดต้มกับน้ำ)ประมาณ 4 ลิตร
5.น้ำสะอาด ประมาณ7 ลิตร อันนี้แล้วแต่ความข้นครับหากยังข้นก็เติมได้อีกแต่ถ้ามากไปก็ใช้ไม่ได้บางที่ใช้น้ำขี้เถ้าผสมด้วย แต่ไม่มีก้ไม่ต้องครับ
วิธีทำ
เทN70กับF24ลงในภาชนะกวนไปในทิศทางเดียวกันให้เข้ากันจนเป็นครีมขาวๆจากนั้นเติมน้ำผลไม้ลงไปกวนไปเรื่อยๆหากไม่ข้นก็ค่อยๆเติมเกลือทีละน้อยสังเกตุดูหากข้นมากก็เติมน้ำลงไปสลับกันจนน้ำหมดทิ้งใว้ 1 คืนจนฟองยุบแล้วตักใส่ภาชนะใว้ใช้ ต้นทุนประมาณ 140 บาท ครับ ส่วนปริมาณที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้น้ำไปเท่าใด
N70คือสารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีหน้าที่เป็นสารทำความสะอาดต่างๆมีชื่อเต็มๆว่าTexapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate N70(โชเดียมลอริวอีเทอร์ซัลเฟตN70)มีชื่อย่อๆว่าSLES
ส่วนF24คือสารขจัดไขมันหรือLAS(linearalkylbenZene Sulfonate)
 จะใช้น้ำมะกรูดหรือมะนาวหมักก็ได้ครับใส่ 4 ลิตร
*วิธีทำน้ำมะกรูดหรือมะนาวหมัก
หั่นมะกรูดหรือมะนาว 4 กิโลกรัม เป็นสองซีก ใส่น้ำตาล 1 กิโลครึ่ง น้ำ10 ลิตร หมัก 30วัน กรองเอาแต่น้ำมาใช้
อย่าคนแรงเพราะจะทำให้มีฟองเกิดมาก

ยาสระผม จากมะกรูด

สมุนไพรที่ใช้แทนแชมพูเป็นสมุนไพรที่มีสารพวกชาโปนิน ซึ่งเป็นสารที่เมื่อตีกับน้ำแล้วเกิดฟอง เหมือนฟองสบู่ และชะล้างสิ่งสกปรกออกจากผมได้ ที่นิยมให้กันในสมัยก่อนคือฝักส้มป่อยแก่ วิธีใช้เอาฝักแก่และแห้ง 4-5 ฝักหักและตีกับน้ำ 1 ลิตรใช้สระผม สมุนไพรอีกอย่างคือมะกรูด วิธีใช้คือใช้น้ำเปล่าเคล้าเส้นผมจนเปียกดี แล้วใช้มะกรูดลูกใหญ่ๆ แก่ๆ 1 ลูก ผ่าซีกบีบเอาน้ำใส่ผมนวดศีรษะให้ทั่วประมาณ 4-5 นาที แล้วล้างน้ำออกให้หมดถ้าต้องการได้รับประโยชน์จากมะกรูดเต็มที่ให้ย่างหรือเผามะกรูดให้นิ่มเสียก่อนแล้วเอามาขยำใน น้ำอุ่นๆ จนละเอียดดีแล้วกรองเอาน้ำที่ได้นี้มานวดผมเช่นเดียวกับข้างต้น น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยบำรุง เส้นผมได้ดีมาก  
ขิง (Ginger) : แก้ผมร่วง ทำให้เส้นผมเกิดใหม่ได้ดีขึ้น
วิธีใช้ : นำเหง้าสดมาเผาไฟ ทุบให้แตกผสมน้ำนำไปขยี้ให้ทั่วศีรษะ วันละ 2 ครั้ง ประมาณ 3 วัน หรือนำขิงแก่ 1 เหง้า  ขนาดเท่าฝ่ามือตำให้ละเอียด ห่อด้วยผ้าขาวบางเป็นลูกประคบ วางบนหม้อประคบที่ต้มน้ำจนเดือด  เมื่อลูกประคบร้อนนำไปประคบบริเวณผมร่วง ทำวันละ 2 ครั้ง 20-30 นาที  3-5  วัน จะเห็นผล
ตะไคร้ (Lemon Grass) : แก้ผมแตกปลาย ขจัดรังแค ทำให้ผมดกดำ
วิธีใช้ : ใช้ต้นตะไคร้ 3-4 ต้น หั่นเป็นชิ้นแล้วตำ คั้นเอาน้ำมาใช้นวดหลังสระผมทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างออก ทำทุกครั้งหลังสระผม จะเห็นผลภายใน 2 เดือน
ฟ้าทลายโจร : แก้ผมร่วง 
วิธีใช้ : นำมาต้มกับน้ำ หลังสระผม ชโลมให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้สักครู่แล้วจึงล้างออก
มะกรูด (Kaffir Lime) : ทำให้ผมดกดำ นิ่มสลวย ขจัดรังแค แก้ผมร่วง
วิธีใช้ :1. มะกรูด 1 ผลผ่าซีก ต้มกับน้ำ 2 แก้วให้เดือดยกลงจากเตา ทิ้งไว้ 5 นาที บีบเอาน้ำมะกรูด กรองเอาเนื้อและกากออก นำน้ำที่ได้ไปสระผม ผมจะนิ่มสลวย
2. ผลมะกรูด 1 ผลบีบเอาแต่น้ำ นำมาผสมหัวกะทิ  กวนให้เข้ากันใช้ขยี้ให้ทั่วศีรษะทิ้งไว้ 10 นาที แล้วจึงล้างออก ทำวันละครั้งติดต่อกัน 7 วัน ผมจะดกดำ
3. ผลมะกรูด 1 ผล เผาไฟให้ร้อน คั้นเอาน้ำใช้ขยี้บนศีรษะให้ทั่วทิ้งไว้ 2-3 นาที ล้างออกให้สะอาด ช่วยขจัดรังแค
มะพร้าว (Coconut) : ทำให้ผมนิ่ม รักษาผมแห้งแตกปลาย
วิธีใช้ : บีบเนื้อมะพร้าวเป็นกะทิ นำไปเคี่ยวจนได้น้ำมัน ใช้นวดเส้นผม ทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วจึงสระออก
ว่านหางจระเข้ : ทำให้ผมลื่น หวีง่าย นุ่มสลวย รักษาแผลบนหนังศีรษะ
วิธีใช้ : ใช้ใบแก่ที่มีน้ำเมือกมาก ล้างให้สะอาด แช่ในน้ำอุ่น 5-10 นาที ให้ยางสีเหลืองไหลออกให้หมด เอามีดเฉือหนามออกทั้งสองข้าง ผ่าเนื้อวุ้นออกเป็น 2 ซีก นำน้ำวุ้นที่ได้มาทาผมแทนการใส่น้ำมัน หรือนำเนื้อวุ้นที่ได้มาใส่เครื่องปั่น  ปั่นให้ละเอียดน้ำวุ้นที่ได้ใช้หมักผมทิ้งไว้ 5 นาทีแล้วล้างออก

สูตรแชมพูสมุนไพรสด สูตรรำข้าว
ส่วนประกอบ :
- มะกรูด 1 ผล
- ฝักส้มป่อย 1-2 ฝัก
- รำข้าวละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ :
1. นำมะกรูดและฝักส้มป่อยไปเผาไฟให้มีกลิ่นหอม
2. ผ่าซีกมะกรูด นำไปต้มรวมกับฝักส้มป่อยในน้ำ 1 ชาม  ต้มจนเดือด
3. นำน้ำที่ต้มได้ผสมกับน้ำเย็น 1 กะละมัง
4. เติมรำข้าว คนให้เข้ากัน  เอาน้ำที่ได้ไปชโลมเส้นผม นำกะละมังมารองน้ำที่ใช้ชโลมแล้วกลับมาทำซ้ำอีก ใช้หวีซี่ห่างสางผมไปด้วย ทำเช่นนี้ไป 10-15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด 

สูตรนี้เมื่อใช้แล้วจะทำให้ผมนิ่ม ไม่พันกัน และมะกรูดจะช่วยรักษารังแคและอาการคันหนังศีรษะ

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจไทย และอาชีพ

กล้วยกับเศรษฐกิจไทย
       กล้วยเป็นพืชที่ขึ้นง่ายโตเร็วดูแลรักษาไม่ยากนักแต่ประโยชนที่ได้รับจากทุกส่วนของกล้วย ล้วนมีคุณค่ามหาศาล จึงน่าจะเป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยทุกคนควรหันมาจับตามองและให้ความสำคัญ อย่างจริงจังไม่เพียงแต่ปลูกกล้วยไว้เป็นอาหาร เพื่อเป็นร่มเงาหรือปล่อยให้แตกหน่ออย่างตามมีตามเกิด เท่านั้นแต่น่าจะมองในแง่คุณค่าทางเศรษฐกิจที่จะช่วยพัฒนาชีวิตของครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ โดยส่วนรวม
       ตัวอย่างต่อไปนี้อาจเป็นแนวคิดที่จะสร้างเศรษฐกิจจาก  "  กล้วย  "ได้บ้าง           ปลูกกล้วยเป็นพืชหลักอย่างหนึ่งในการทำเกษตรกรรมแบบไร่นาสวนผสมสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ ไม่มากนักเช่น  ขุดบ่อเลี้ยงปลา  เลี้ยงไก่ ขุดคันร่องรอบพื้นที่ที่บนคันร่องปลูกกล้วยสลับกับพืชเศรษฐกิจ อื่น ๆ ที่สามารถหมุนเวียนเก็บขายเป็นรายได้ตลอดปี
       ปลูกกล้วยเป็นพืชเป็นพืชแซมพืชชนิดอื่น  ที่มีอายุยาวนานกว่าเช่น  มะม่วง  ทุเรียน  เงาะ  ลิ้นจี่  ลางสาด  ลำใย ฯลฯ  เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่พืชชนิดอื่นและสามารถนำมาจำหน่ายหรือแปรรูป ออกมาจำหน่ายในระหว่างที่พืชอื่นยังไม่ถึงเวลาออกลูกออกผล
        ปลูกกล้วยชนิดเดียวเพื่อเน้นการจำหน่ายผลและผลผลิตจากกล้วย  เช่น 
  •   การปลูกกล้วยไข่  ในจังหวัดกำแพงเพชร
  •   การปลูกกล้วยหอม  เพื่อการส่งออกในบางจังหวัด เช่น  พระนครศรีอยุธยา  อ่างทอง  เป็นต้น
  •   การปลูกกล้วยชนิดต่าง ๆ เพื่อการจำหน่ายและการอุตสาหกรรม เช่น ในจังหวัดเพชรบุรี
       ปลูกกล้วยในบริเวณบ้านเพื่อให้ร่มเงา บรรยากาศสดชื่นหรือปลูกไว้รับประทานหรือจำหน่าย ปลูกกล้วยเป็นไม้ประดับเช่น  การปลูกกล้วยกระถาง  ปลูกกล้วยบอนไซ ปลูกกล้วยเป็นอาชีพอิสระ เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนโดยใช้พื้นที่ใน  การปลูกทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน คนไทยเราส่วนใหญ่มักจะคิดว่าข้าวเท่านั้นที่เป็นอาหารหลักทั้งๆ ที่มีอาหารอื่นทั้งที่หาได้ไม่ยาก และมีคุณค่าทางอาหารมากมายไม่แพ้ข้าว เช่น กล้วยเป็นต้นซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารแล้วยังให้ ประโยชน์ด้านอื่นอีกมากมาย เราได้แต่ฝันว่า       สักวันหนึ่งคนไทยจะหันมาให้ความสำคัญกับกล้วยมากกว่านี้และเมื่อนั้นกล้วยจะกลายเป็น พืชเศรษฐกิจอันดับต้น ๆของไทยทีเดียว  

“....กล้วยเล็บมือนางอบ ขายดิบขายดี อาจเพราะเป็นของใหม่และยังไม่มีคู่แข่ง ร้านค้าแทบทุกแห่งแย่งกันรับซื้อ ถึงกับต้องอบกันทั้งวันทั้งคืน”
“กล้วย” ผลไม้พื้นๆ ดาษดื่นที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะเดินทางไปแห่งหนตำบลไหน ทั้งเหนือ ใต้ อีสาน ออก ตก เป็นต้องมีผลไม้ชนิดนี้ให้รับประทานกันแทบทั้งปี เรียกว่าถึงขั้นเหลือเฟือเลยทีเดียว  
ด้วยความอุดมสมบูรณ์ดังว่า จึงทำให้เกิดผู้ประกอบธุรกิจด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ มากหน้าหลายตา รวมทั้งเจ้าของเรื่องราว ซึ่งกรุณาสละเวลามาให้ข้อมูลหลายแง่มุมรายนี้ ที่คลุกคลีอยู่ในแวดวง “กล้วย-กล้วย” มานานเกือบ 20 ปี และไม่มีท่าที คิดหันไปแปรรูปไม้ผลชนิดอื่น
โดยเขาให้เหตุผลสั้นๆ    

สรรพคุณของกล้วย

กลุ่มยาขับน้ำนม
กล้วยน้ำว้า
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Musa ABB cv. Kluai 'Namwa'
ชื่อสามัญ  Banana
วงศ์  Musaceae
ชื่ออื่น :  กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่, เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : หัวปลี  เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบไม้ล้มลุก สูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ
ส่วนที่ใช้ :
สรรพคุณ :
  • รากแก้ขัดเบา
  • ต้น - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน
  • ใบ - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
  • ยางจากใบ - ห้ามเลือด สมานแผล
  • ผล - รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง
  • กล้วยน้ำว้าดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย
  • กล้วยน้ำว้าสุกงอม - เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด
  • หัวปลี - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ขับน้ำนม - ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ
  • แก้ท้องเดินท้องเสีย
    ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง
สรรพคุณเด่น :
  • แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
    1. แก้โรคกระเพาะ - นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน
    2. แก้ท้องผูก - ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
    3. แก้ท้องเดิน - ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน
สารเคมีที่พบ :
  • หัวปลี  มีธาตุเหล็กมาก
  • หัวปลี และราก มี Triterpene หรือ Steroid
    ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ (โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และโปรแตสเซียมในกล้วยหอมมีมาก) วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมี
    Serotonin Noradrenaline และ Dopamine
  • ผลดิบ มีแป้ง Tannin acid, Gallic acid และ Pectin มาก
  • กล้วยหอมสุก ให้กลิ่น และรสของ Amyl acetate, Amylbutyrate Acetaldehyde, Ethyl alcohol และ Methyl alcohol
  • น้ำยาง มี Pelargonidin, Cyanidin, Delphinidin Palonidin Petunidin และ Malvidin
ประโยชน์ทางยาของกล้วยหอม
          กล้วยหอมเป็นผลไม้ รสหวาน เย็น ไม่มีพิษ สารอาหารที่สำคัญๆ ในกล้วยหอม ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามินหลายชนิด จัดเป็นผลไม้บำรุงร่างกายดี นอกจากนี้กล้วยหอมยังสามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น เป็นยาทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้กระหาย ถอนพิษ นอกจากนี้ยังพบว่า มีฤทธิ์รักษาตามตำรับยา ดังนี้
  • รักษาความดันโลหิตสูง - เอาเปลือกกล้วยหอมสด 30-60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าเอาปลีกล้วยต้มรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้
  • รักษาริดสีดวงทวาร แก้ท้องผูก - รับประทานกล้วยหอมสุกตอนเช้า ขณะท้องว่างวันละ 1-2 ผล ทุกวัน
  • รักษามือเท้าแตก - เอากล้วยหอมที่สุกเต็มที่ เจาะรูเล็กๆ ที่ปลายข้างหนึ่ง แล้วบีบเอากล้วยออกมาทาที่เท้าแตก ทิ้งไว้หลายชั่วโมง จึงล้างออก จะรู้สึกดีขึ้น